TOP

เริ่ม 27 พ.ค นี้! ‘ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย’ เปิด 3 ช่องทางลงทะเบียนคนกรุง รับวัคซีนโควิด-19

หลังจากที่รอคอยกันมาสำหรับชาวกรุงเทพฯ ในกลุ่มประชาชนทั่วไป อายุระหว่าง 18-59 ปี จะได้ลงทะเบียนรับวัคซีนต้านโควิด-19 ในส่วนของ กทม. พร้อมปูพรมฉีดวัคซีนให้ประชาชนมากที่สุดและเร็วที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดตัวร้าย โดยได้ผสานกำลังภาครัฐและเอกชนหลายภาคส่วน พัฒนาระบบ “ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย” (Safe Bangkok) ให้เป็นช่องทางการลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีน ณ จุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล จำนวน 25 แห่ง รองรับครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยในทุกพื้นที่ ซึ่งจะทำให้พี่น้องประชาชนบางส่วนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีต่างๆ ก็สามารถใช้ระบบนี้ได้ ซึ่งระบบไอทีที่จัดทำขึ้นนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยจัดการให้เป็นระบบยิ่งขึ้น

 

โดยสามารถเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป และลงทะเบียนได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 06.00 – 22.00 น. โดยดีเดย์เริ่มฉีดวัคซีน วันที่ 7 มิถุนายน 2564

—–💉—–

 

ผู้มีสิทธิรับวัคซีน

1. ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33

2. ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18-59 ปี 10 เดือน ซึ่งไม่ได้เป็นกลุ่มโรคเสี่ยง ที่ได้ลงทะเบียนกับ “ระบบหมอพร้อม” ไปแล้ว
—–💉—–

3 ช่องทางลงทะเบียน

1. ลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com (สำหรับกลุ่มที่ไม่เคยลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการของรัฐ)
2. ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” (สำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ อย่างเช่น โครงการเราชนะ, คนละครึ่ง เพราะระบบได้มีข้อมูลอยู่แล้ว)
3. ลงทะเบียนได้ที่ร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น อิเลฟเว่น, ท็อปส์ มินิซุปเปอร์มาร์เก็ต, มินิบิ๊กซี และ แฟมิลี่มาร์ท (ที่เอื้อให้ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงระบบ อำนวยความสะดวกต่อผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน)
—–💉—–

ขั้นตอนการลงทะเบียน

กลุ่มที่ 1 เคยเข้าร่วมโครงการภาครัฐ โดยมีแอปฯ เป๋าตัง ให้เข้าแอปฯ เป๋าตัง เพื่อแจ้งความประสงค์รับการฉีดวัคซีน

กลุ่มที่ 2 สำหรับผู้ที่ไม่เคยร่วมโครงการภาครัฐ ให้ลงทะเบียนที่เว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com

  • รอรับ SMS ยืนยันได้รับการจัดสรรวัคซีน
  • นัดหมายสถานที่ วัน เวลา เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนบนแอปฯ เป๋าตัง หรือ www.ไทยร่วมใจ.com
  • รอรับ SMS แจ้งเตือนล่วงหน้า 1 วัน ก่อนเข้ารับวัคซีน
  • ยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน ณ จุดฉีดวัคซีน
  • ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 สังเกตอาการ
  • ทำแบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ หลังรับวัคซีนตามกำหนด
  • นัดหมายเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2
  • เข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2 (ขั้นตอนเหมือนเข็มที่ 1)

กลุ่มที่ 3 ไม่มีสมาร์ทโฟน โดยสามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนแทนได้ ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com หรือสามารถลงทะเบียนที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อิเลฟเว่น, ท็อปส์ เดลี่ มินิซุปเปอร์มาร์เก็ต, มินิบิ๊กซี และ แฟมิลี่มาร์ท สาขาที่ให้บริการลงทะเบียน ใน กทม.

  • ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน

—–💉—–

 

ศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด 25 จุด

กทม. ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งศูนย์บริการฉีดวัคซีนโควิด 25 จุด โดยในแต่ละวันจะสามารถฉีดวัคซีนในพื้นที่กทม. ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นโดสต่อวัน โดยทั้งศูนย์ 25 ศูนย์พร้อมให้บริการประมาณต้นเดือน มิ.ย.2564 เป็นต้นไป

โดยมี 25 จุด บริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  2. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ( ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ)
  3. ศูนย์ฉีดวัคซีนเอสซีจี
  4. ไทยพีบีเอส
  5. ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก
  6. ทรู ดิจิทัล พาร์ค
  7. เดอะสตรีท รัชดา
  8. สามย่านมิตรทาวน์
  9. เอเชียทีค
  10. เซ็นทรัลเวิลด์
  11. เซ็นทรัล ลาดพร้าว
  12. เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
  13. เซ็นทรัล อีสต์วิลล์
  14. โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
  15. เดอะมอลล์ บางกะปิ
  16. เดอะมอลล์ บางแค
  17. สยามพารากอน
  18. ดิ เอ็มโพเรียม
  19. ไอคอนสยาม
  20. ธัญญาพาร์ค
  21. โลตัส พระราม 4
  22. โลตัส มีนบุรี
  23. บิ๊กซี บางบอน
  24. บิ๊กซี ร่มเกล้า
  25. PTT STATION (พระราม 2 ขาออก กม.12)

—–💉—–

 

‘สปสช.’ เชื่อมต่อข้อมูลกับ ‘กระทรวงสาธารณสุข’ 

สปสช.พร้อมสนับสนุนข้อมูลต่างๆ เมื่อได้เลือกสถานที่ในการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะจุดบริการนอกโรงพยาบาล จะมีข้อมูลรองรับด้วยเช่นกัน เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ข้อมูลผู้ได้รับการฉีดวัคซีนจะไปเชื่อมต่อกับ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อนัดการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และมีระบบการติดตามผลการฉีดวัคซีนทั้งหมด

—–💉—–

 

เสริมทัพพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม

ครั้งนี้เป็นความร่วมมือที่รวบรวมไอทีผนึกกำลังจากทุกสถาบันมาร่วมกับโครงการนี้ ระหว่าง ธนาคารกรุงไทย, สปสช., แอสเซนเจอร์ และ IBM เข้ามาพัฒนาระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพ รวมฐานข้อมูลเดิมของรัฐบาล ทั้งทางกระทรวงการคลัง, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงสาธารณสุข, สปสช. ที่ได้ร่วมพัฒนาสร้างไว้ ทั้ง เราไม่ทิ้งกัน, เรารักกัน ม.33 , คนละครึ่ง และกระเป๋าสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการลงทะเบียนฉีดวัคซีน ง่ายต่อการบริหารจัดการ เน้นประสิทธิภาพการเร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกโรงพยาบาลทั้ง 25 ศูนย์ โดยข้อมูลทั้งหมดจะไปรวมกับข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข moph ic ไม่สร้างความสับสน ระบบมีความยืดหยุ่น ปรับตามประเภทของวัคซีน และสถานที่ฉีด ตามปริมาณของวัคซีนที่ถูกจัดสรรให้กับสถานที่ฉีด นอกโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และเชื่อว่าจะรองรับการบริการคนกรุงเทพฯได้

—–💉—–

 

สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ

สำหรับชาวกรุงเทพฯ ผู้ที่ไม่สะดวกลงทะเบียนผ่านสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนจองผ่านร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อิเลฟเว่น ที่มี 3,314 แห่งในกรุงเทพฯ ไม่รวมปริมณฑล โดยใช้บัตรประชาชนนำมาแจ้งพนักงานช่วยลงทะเบียนนัดหมายให้ ซึ่งต่อไปจะได้มีการพัฒนาระบบให้บริการ นำบัตรประชาชนเสียบเข้าระบบและนัดได้ทันที ให้ง่ายยิ่งขึ้น และร้านสะดวกซื้ออื่นๆ เช่น ท็อปส์ และ แฟมิลี่มาร์ท เป็นจุดลงทะเบียนฉีดวัคซีนด้วย ซึ่งมีทั้งหมด 316 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร รวมถึง กลุ่มบิ๊กซี โดยมี บิ๊กซี สาขาบางบอน และ บิ๊กซี สาขาร่มเกล้า เปิดให้ประชาชนกรุงเทพฯ ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน อายุตั้งแต่ 18-59 ปี ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด เพื่อมาลงทะเบียนและจองสิทธิในการฉีดวัคซีน เริ่มฉีดตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.เป็นต้นไป

—–💉—–

 

สายด่วน โทร.1516

ขณะที่ กสทช. พร้อมเปิด “สายด่วน โทร.1516” ร่วมมือกับ 3 ค่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ True , Dtac และ AIS ผนึกกำลังกันเป็น Call Center อำนวยความสะดวกตอบคำถาม ให้คำแนะนำการใช้ระบบ และประสานการนัดหมายจองฉีดวัคซีนอีกด้วย

 

สำหรับระบบการจองดังกล่าว สามารถไปลงทะเบียนร้านสะดวกซื้อสำหรับผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือให้คนในครอบครัวลงทะเบียนได้ที่ www.ไทยร่วมใจ.com และเมื่อมีการจองแล้วจะมีการยืนยันตัวตนผ่าน SMS และจะมีการออกใบนัดให้สำหรับฉีดเข็มที่ 2 การมาฉีดแค่ยื่นบัตรประชาชน โดยสามารถสอบถามรายละเอียด ได้ที่โทร. 1516 ทั้งนี้จะเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 2567 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. และเริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.2564 เป็นต้นไป

—–💉—–

 

ที่มา : เพจ https://www.facebook.com/earthpongsakornk/
@เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang

เหมือนจันทร์ ศรีสอาด