TOP

ภัยเงียบ! ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา…สุขภาพสายตาเป็นเรื่องที่รอไม่ได้

เราทุกคนต่างรู้ดีว่าควรตรวจสุขภาพร่างกายของเราเป็นประจำทุกปี แต่น้อยคนที่จะใส่ใจกับการตรวจสุขภาพดวงตา ทั้งๆ ที่ดวงตาคืออวัยวะรับสัมผัสที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากที่สุด ทำงานให้เราในทุกกิจกรรม แต่กลับได้รับความสนใจน้อยที่สุด บางครั้งดวงตาถูกละเลยจนเกิดโรคลุกลามโดยไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการของโรคตาได้อย่างง่ายๆ ด้วยการเลือกใช้เลนส์แว่นตาที่เหมาะสม เพื่อถนอมสุขภาพของดวงตา และปกป้องดวงตาจากความเสียหายที่อาจก่อโรคได้ในอนาคต เรามารู้ถึงภัยร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาในแต่ละช่วงวัย จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาของ เอสซีลอร์ และชี้ให้เห็นว่าเพราะเหตุใดการดูแลสุขภาพดวงตาจึงยิ่งเร็วยิ่งดี 

 

กลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี (Gen Z)

การตรวจคัดกรองโรคตาในช่วงวัยนี้ โดยเฉพาะก่อนวัย 6 ขวบ มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้จะยังไม่รู้ว่าการมองเห็นที่ปกติเป็นอย่างไร หากผู้ปกครองไม่ใส่ใจ อาจทำให้เกิดปัญหาถาวรได้ เช่น โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) ซึ่งมักเกิดจากภาวะตาเข และสายตาผิดปกติที่ไม่ได้รับการแก้ไข ยิ่งถ้าตาข้างหนึ่งผิดปกติมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มาก เพราะเด็กจะใช้เฉพาะตาข้างที่ดี และปล่อยให้ตาอีกข้างมัวลงไปเรื่อยๆ จนมองไม่เห็นในที่สุด โรคตาในเด็กจึงต้องได้รับการรักษาในช่วงเวลาที่ยังสามารถทำได้เท่านั้น เด็กๆ จึงควรได้รับการตรวจดวงตาอย่างละเอียดทุกปี เพราะคุณภาพการมองเห็นที่ดี จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ 

นอกจากนี้ ภาวะสายตาสั้น หรือสายตาเอียง ก็มักเกิดขึ้นในวัยเด็ก ผู้ปกครองจึงควรให้บุตรได้ตรวจวัดสายตาก่อนเข้าเรียนชั้นประถม และควรตรวจวัดสายตาทุกๆ 6-12 เดือน เพราะสายตาในวัยเด็กอาจเปลี่ยนได้เร็ว และสายตาที่ไม่ได้ถูกแก้ไขอาจส่งผลในการเรียนได้

 

กลุ่มอายุ 20-37 ปี (Gen Y)

ถือเป็นวัยทำงานที่ใช้สายตาหนักมาก เพราะวิถีชีวิตสมัยใหม่นี้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีตลอดเวลา พฤติกรรมเหล่านี้เป็นตัวก่อให้เกิดโรคตาจากคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Vision Syndrome (CVS) ยิ่งกลุ่มคนทำงานที่ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลนานกว่า 8 ชม. ต่อวัน ยิ่งมีโอกาสเกิดอาการปวดตา ภาวะตาล้า และปัญหาสายตาสั้นได้ง่ายขึ้น แม้การเลี่ยงใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่เราสามารถเลือกใช้เลนส์แว่นตาที่มีนวัตกรรมป้องกันแสงสีฟ้า เพื่อช่วยให้รู้สึกสบายตา และถนอมสุขภาพดวงตาในระยะยาว อย่าง เลนส์อายเซ็น (Eyezen) ซึ่งมีคุณสมบัติปกป้องดวงตาจากแสงสีน้ำเงินชนิดอันตรายจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ อีกทั้งยังช่วงลดภาวะตาล้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งสำคัญที่ห้ามละเลยก็คือ การตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาในอนาคต

 

กลุ่มอายุ 38 ปีขึ้นไป (Gen X และ Baby Boomers)

คนกลุ่มนี้จะเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากขึ้นตามวัย โดยเฉพาะปัญหาสายตายาวตามอายุ ทำให้การมองเห็นในระยะต่างๆ ไม่คมชัดเหมือนกลุ่มช่วงอายุอื่นๆ ซึ่งหลายคนคงมีคำถามว่า สายตายาวตามอายุคืออะไร สายตายาวตามอายุเกิดจากการเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้เลนส์ตาสูญเสียความยืดหยุ่นไม่สามารถทำงานได้ปกติเหมือนตอนที่ยังเป็นวัยรุ่น ความสามารถในการเพ่งมองวัตถุที่อยู่ใกล้ก็จะลดลงตามวัย ทำให้การมองเห็นระยะใกล้ เช่น การอ่านหนังสือหรือมองจอมือถือ รวมถึงระยะกลาง เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือระยะโต๊ะทำงาน ไม่ชัดเหมือนเคย ทำให้คนวัยนี้ต้องพกแว่นตาหลายอันเพื่อให้มองชัดในทุกระยะของการทำกิจกรรม เพราะแว่นอันเดียวไม่สามารถตอบโจทย์ทุกค่าสายตาได้ แต่เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมาทางเอสซีลอร์ได้เปิดตัว Varilux Comfort® Max (วารีลักซ์ คอมฟอร์ต แม็กซ์) นวัตกรรมเลนส์โปรเกรสซีฟใหม่ล่าสุด เพื่อตอบโจทย์คนอายุ 40 ปีขึ้นไป โครงสร้างเทคโนโลยีจากฝรั่งเศสในราคาที่จับต้องได้ ซึ่งเริ่มมีปัญหาสายตายาวตามอายุ และต้องการมองเห็นชัดเจนในทุกท่วงท่า และทุกระยะในแว่นเดียว เพื่อการใช้ชีวิตอย่างอิสระพร้อมมอบความสบายตาตลอดทั้งวัน มากไปกว่าความผิดปกติของสายตาที่คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญแล้ว ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตาต่างๆ ตามอายุที่มากขึ้นอย่าง โรคต้อเนื้อ ต้อกระจก ต้อหิน ความผิดปกติของจอประสาทตา ก็อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ หากไม่ได้รับการตรวจพบ และรักษาที่ทันท่วงที เพราะฉะนั้นการตรวจสุขภาพสายตาเป็นประจำทุกปี เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก แม้จะยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม

 

การเตรียมตัวก่อนมาตรวจสุขภาพดวงตา

เพื่อให้ได้ผลการตรวจวินิจฉัยที่เที่ยงตรงที่สุด

  • ในกรณีที่มีค่าสายตาสั้นหรือยาว ให้ใส่แว่นตามาตรวจ แทนการใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อให้ตาปรับสภาพก่อนทำการตรวจวัด
  • งดบริโภคแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • นำแว่นที่ใช้อยู่ประจำ และประวัติการรักษาทางตา และยารักษาโรคตาที่ใช้ประจำมาให้จักษุแพทย์ดูประกอบการตรวจ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ของเอสซีลอร์ ที่เว็บไซต์ http://www.essilor.co.th 

เหมือนจันทร์ ศรีสอาด