TOP

องค์การอนามัยโลก ชี้เป้า! จากนี้สู่ปี ค.ศ. 2030 สะท้อนความยุติธรรมสากล สู่ความเสมอภาคด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน บนความหลากหลายทางเพศ

ศัพท์หลายคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นชาวสีรุ้ง, กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI), เกย์ (Gay), เลสเบี้ยน (Lesbian), คนรักสองเพศ (Bisexual) และอีกมากมายนั้น จากนี้ไปประชากรกลุ่มนี้ จะไม่ต้องเผชิญกับภาวะปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป ในการที่ต้องต่อสู้กับความแตกต่างด้านกายภาพ สรีระและจิตใจ อันมีผลต่อภาวะสุขภาพอย่างมากที่ประชากร LGBTQI ต้องเผชิญมาโดยตลอดด้วยความกดดัน โดยที่ประชากรทุกกลุ่มในโลก จะต้องเข้าใจถึงความหลากหลายทางเพศอันเป็นจริง และเป็นผลอันสอดคล้องเกี่ยวข้องกับสุขภาพทางกายและใจอีกด้วย  และเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของสหประชาชาติ ในการดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันของมวลมนุษยชาติในโลก ต่อเอกลักษณ์ทางเพศและความหลากหลายทางเพศด้วยเช่นกัน

 

เมื่อปี ค.ศ. 2016 องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดวาระการพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืนของประชากรโลกไว้ โดยกำหนดว่า ภายในปี ค.ศ. 2030 ผู้คนทั่วโลกกำลังดำเนินการไปสู่เป้าหมายโลก ที่สะท้อนความยุติธรรมสากลทางด้านสุขภาพ ที่เคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยกัน โดยให้คำมั่นว่าจะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ไม่ว่าจะ เลสเบี้ยน เกย์ กะเทยแปลงเพศหรือไม่แปลงเพศ แม้แต่กลุ่ม intersex หรือที่เรียกรวมกันว่า LGBTQI โดยประชากรกลุ่มนี้จะไม่ต้องเผชิญกับภาวะปัญหาสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป 

 

ทัศนคติและการยอมรับความหลากหลายทางเพศ มีวิวัฒนาการให้การยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย

ทัศนคติในด้านการยอมรับความหลากหลายทางเพศ ของกลุ่มคนที่มีรุ่นวัยต่างกันในสังคมไทยนั้น มีปัจจัยหลายด้านโดยอ้างอิงข้อมูลจากโครงการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต ในปี พ.ศ. 2551 และโครงการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้แนวคิดการแบ่งกลุ่มอายุตามรุ่นวัย (Generation) ในกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้กับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ 4 ลักษณะ คือ ผู้ชายทำตัวเป็นผู้หญิง, ผู้หญิงทำตัวเป็นชาย, ชายรักชาย, หญิงรักหญิง การยอมรับคนที่ทำตัวข้ามเพศมีมากกว่าคนรักร่วมเพศ และทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกันในแต่ละรุ่นวัย ก็ยังมีความคิดที่ต่างไปอีกด้วยเช่นกัน โดยกลุ่มที่มีอายุน้อยจะมีการยอมรับความหลากหลายทางเพศมากกว่ากลุ่มที่มีอายุมากกว่า นั่นคือถ้าเทียบเป็นเจนเนอร์เรชั่น กลุ่ม Gen Y (คนที่เกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2540) คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่าง ระหว่างรุ่นปู่ย่าตายายกับรุ่นพ่อแม่ แต่ก็รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวัน อันมีแนวคิดที่เปิดกว้างทันสมัย และเป็นกลุ่มที่ให้การยอมรับในเพศทางเลือก หรือความหลากหลายทางเพศด้วยความเข้าใจมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่ให้การยอมรับน้อยที่สุด คือ กลุ่ม Greatest Gen (คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2444 – 2467) เกิดยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผู้คนส่วนใหญ่ต้องกลายมาเป็นกำลังหลัก ของการต่อสู้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อสงครามสงบเกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก คนกลุ่มนี้จึงเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟู และพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง จึงไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมนักในการแสดงตัวตนของความหลากหลายทางเพศ รวมถึง กลุ่ม Silent Gen (คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2468 – 2488) นั่นคือเกิดขณะสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น เป็นสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำสุดๆ ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก ต้องดิ้นรนขวยขวายโอกาสและปากท้อง คนยุคนี้จึงไม่เปิดใจยอมรับในความหลากหลายทางเพศเท่าไหร่นักเช่นกัน

 

เห็นได้ชัดว่าตัวแปรสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตมาในช่วงยุคสมัยที่ต่างกัน ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรม ต่างประสบการณ์การเรียนรู้จากสังคม ข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความแตกต่างของทัศนคติของแต่ละรุ่นวัยโดยสิ้นเชิง ตัวแปรสำคัญอื่นๆ ที่มีผลต่อการยอมรับความหลากหลายทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพิ่มเติม นั่นคือ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา ศาสนา ภาคและเขตที่อยู่อาศัย รวมทั้งทัศนคติ และจากผลสำรวจการยอมรับความหลากหลายทางเพศในปี พ.ศ. 2554 กลับพบว่ามีแนวโน้มที่มากขึ้นกว่าการสำรวจในปี พ.ศ. 2551 และจากนี้ไปสู่อนาคตจะเป็นโลกใบเดิมที่เปิดกว้าง การยอมรับเพื่อนๆ หลากหลายทางเพศ ที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้เช่นเดียวกับพวกเรา ตามมติสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยในปี ค.ศ. 2030 หรือ ปี พ.ศ. 2573 จะเป็นปีที่มีการพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืนบนความหลากหลายทางเพศ AROUND ขอปรบมือรัวๆๆๆ

 

ขอบคุณที่มา : กรมสุขภาพจิต

เหมือนจันทร์ ศรีสอาด