TOP

4 พฤติกรรม ส่งผลลดความสามารถของเม็ดเลือดขาว NK Cell เสี่ยงต่อการเกิด”มะเร็ง”

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) เป็นหนึ่งในกลไกการทำงานของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่นๆ และยังมีหน้าที่ในการกำจัด ป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง อีกด้วย ระบบภูมิคุ้มกันประกอบขึ้นด้วยสารเคมี ที่สร้างขึ้นภายในร่างกาย ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเซลล์ชนิดนี้จะถูกสร้างขึ้นภายในไขกระดูก จากนั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ NK Cell (Natural Killer Cell) คือเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกาย พบได้เพียง 15% ของจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ทั้งหมด แต่มีหน้าที่สำคัญในการทำลายเซลล์ ที่ติดเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็ง โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการกระตุ้น และการเรียนรู้ต่อเซลล์ที่ผิดปกตินั้น (Antigen Stimulation) ดังนั้นเม็ดเลือดขาว NK Cell จึงมีบทบาทสำคัญซึ่งเปรียบเสมือนด่านแรก ของระบบภูมิคุ้มกัน (InnateImmune System) ในการค้นหาและทำลายเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มต้น และควบคุมการติดเชื้อไวรัสต่างๆ การศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว NK Cell จะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของมะเร็งที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ แต่นอกจากอายุแล้วยังมีปัจจัยที่ทำให้ความสามารถของ NK cell อ่อนแอลง เช่น

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่ครบ 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากการออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานนน้ำตาลหรือไขมันสูง และรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่มีแร่ธาตุและวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงมากพอ
  • เครียดสะสม เพราะเมื่อในร่างกายมีความเครียดสูงขึ้น ฮอร์โมนความเครียดจะไปกดภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอลงจนร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบันทางการแพทย์สามารถตรวจ NK Cell Count และ NK Activity ได้ เพื่อประเมินความสามารถในการทำลายเชื้อไวรัสและเซลล์มะเร็ง ของแต่ละบุคคลได้จากการเจาะเลือด ดังนั้นผู้ที่ควรได้รับประโยชน์จากการตรวจคือ สำหรับผู้ที่ตรวจแล้วพบว่า มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ ซึ่งนั้นหมายถึง กลุ่มคนที่มีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้บ่อยขึ้น หายยากขึ้น ร่วมทั้งมีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นด้วย เราจึงแนะนำการตรวจ NKcell ในคนที่มีความเสี่ยงต่างๆ อาทิ

  • คนที่มีการติดเชื้อบ่อยครั้ง เช่น เริม, งูสวัด, โรคตับอักเสบ, เป็นหวัดบ่อย, เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ หรือ บี, ไข้หวัดนก เป็นต้น
  • บุคคลในครอบครัวมีประวัติการเป็นโรคมะเร็ง
  • มีสภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง
  • มีประวัติการสูบบุหรี่อย่างหนัก
  • คนที่ต้องสัมผัสกับฮอร์โมนหรือมลพิษ จากสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลานาน

คนที่มีสุขภาพดี ที่ต้องการตรวจติดตามการทำงานของภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กกำเนิด ซึ่งเป็นภูมิแบบไม่จำเพาะเจาะจงของตนเอง (nondpecific defense mechanism) ระบบภูมิคุ้มกันถือเป็นปราการด่านสำคัญของสุขภาพ ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดี จึงควรใส่ใจในเรื่องระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สามารถเริ่มจากการใช้ชีวิตของเราเอง การรับประทานอาหารที่หลากหลายครบหมู่ เสริมด้วยอาหาร เช่น บลูเบอร์รี, เห็ดไมตาเกะ, เห็ดหลินจือ, กระเทียม หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาทิ Cordyceps (ถั่งเช่า), MGN-3 (สารสกัดจากรำข้าว Biobran), Resveratrol, Reishi Extract (สารสกัดจากเห็ดหลินจือ), AHCC (สารสกัดจากเส้นใยของเห็ดหลายชนิด), Quercetin (สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ของโพลีฟีนอล พบได้ในผลไม้ผักใบและธัญพืชหลายชนิด) และโพรไบโอติกส์ ก็สามารถช่วยเพิ่ม NK cell activity ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ควรออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้ครบ 8 ชั่วโมง ปล่อยวางความเครียด และคอยหมั่นสังเกตร่างกายตัวเอง ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีการติดเชื้อบ่อยขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด หากปล่อยปละละเลยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยร้ายแรงภายหลังได้

 

ที่มา :

  • ทีมแพทย์ RoyalLife Anti-aging Center, BDMS Wellness Clinic Institute และ สมาคมแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพ และส่งเสริมการศึกษาโรคอ้วน กรุงเทพ (BARSO)
  • นิตยสาร Health Brings Wealth by BDMS

เหมือนจันทร์ ศรีสอาด